ยุทธนาวีที่เกาะช้าง

Release Date : 09-07-2020 15:39:13
ยุทธนาวีที่เกาะช้าง

ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์การรบทางเรือที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ขณะที่ฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยทาสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยตอบยินดีแต่ขอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศโดยถือแนวร่องน้าลึกเป็นเกณฑ์ และ ให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้าโขงที่ฝรั่งเศสยึดไป ปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน นักศึกษาและประชาชน ได้มีการเดินขบวนแสดงประชามติเรียกร้องดินแดนที่เสียไป การพิพาทจึงได้ลุกลามและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กาลังทหารเข้าทาการสู้รบกัน ทั้งกาลังทางบก เรือ อากาศ สาหรับกาลังทางเรือได้มีการรบกันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้างระหว่างกาลังทางเรือของไทยและของฝรั่งเศส

 

การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนที่เสียไป


๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ฝรั่งเศสได้ส่งกาลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีน ภายใต้การบังคับบัญชาของ นาวาเอก เบรังเยร์ อันมีเรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เป็นเรือธง พร้อมด้วยเรือสลุป ๒ ลา เรือปืน ๔ ลา เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ ๑ ลา และเรือดาน้าอีก ๑ ลา รวมทั้งสิ้น ๙ ลา เข้ามาในน่านน้าไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นประการสำคัญ

 

นาวาเอก เบรังเยร์                                                                                               เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์

เช้ามืดของวันที่ ๑๗ มกราคม กาลังทางเรือของฝรั่งเศสได้อาศัยความมืดและความเร็วรุกล้าเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะช้างมีทั้งหมด ๗ ลา ส่วนเรือดาน้าและเรือสินค้าติดอาวุธอยู่ในทะเลด้านนอก กาลังทางเรือฝ่ายไทยภายใต้การบังคับบัญชาของ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ มีเรือรบ ๓ ลา คือ เรือหลวงธนบุรี ระวางขับน้า ๒,๓๕๐ ตัน จอดอยู่ที่บริเวณเกาะลิ่ม ส่วนเรือหลวงชลบุรีและเรือหลวงสงขลา ซึ่งมีระวางขับน้าลาละ ๔๖๐ ตัน จอดอยู่ที่อ่าวสลักเพ็ชร เฉพาะเรือลามอตต์ปิเกต์ลาเดียวมีระวางขับน้า ๗,๘๘๐ ตัน ซึ่งมีระวางขับน้ามากกว่าเรือรบของไทยรวมกันทั้ง ๓ ลา

เทียบแผนผังแสดงการรบของฝรั่งเศส – ไทย

น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ ผู้บังคับการ ร.ล.ธนบุรี

เวลา ๐๖๑๒ ขณะที่ทหารเรือหลวงธนบุรี กาลังออกกาลังกายตามปกติอยู่นั้น ยามสะพานเดินเรือได้เห็นเครื่องบินข้าศึก ๑ เครื่อง บินมาทางเกาะกูดผ่านเกาะกระดาดมาทางหัวเรือ ทางเรือจึงได้ประจาสถานีรบแต่ยังมิได้ทาการยิง เนื่องจากว่าเครื่องบินข้าศึกได้บินเลี้ยวไปทางเกาะง่ามตรงบริเวณ ร.ล.ชลบุรี และ ร.ล.สงขลา เรือตอร์ปิโดทั้งสองลาจึงทาการยิงสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึกแต่ไม่ถูก เครื่องบินจึงบินหายลับตาไป แต่มีเสียงปืนถี่และหนักขึ้น ยามสะพานเดินเรือได้รายงานว่าเห็นเรือลามอตต์ปิเกต์อยู่ทางใต้ของเกาะช้าง ตรงช่องระหว่างเกาะช้างกับเกาะไม้ซี้ใหญ่ กาลังระดมยิงเรือหลวงชลบุรีและเรือหลวงสงขลา

 

เวลา ๐๖๔๐ ขณะที่เรือหลวงธนบุรีได้ตั้งลาเตรียมพร้อม เรือลามอตต์ปิเกต์ก็โผล่จากเกาะไม้ซี้ใหญ่และเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อนทันที เรือหลวงธนบุรีได้เริ่มยิงตับแรกด้วยป้อมปืนหัวและป้อมปืนท้าย โดยตั้งระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร ทันใดนั้นเองกระสุนตับที่ ๔ ของเรือลามอตต์ปิเกต์นัดหนึ่งได้เจาะทะลุผ่านห้องโถงนายพลและระเบิดทะลุพื้นหอรบขึ้นมา เป็นเหตุให้ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ และทหารในหอรบอีกหลายนายต้องเสียชีวิตในทันทีและมีอีกหลายนายได้รับบาดเจ็บสาหัส กระสุนนัดนี้เองที่ทาลายเครื่องติดต่อสั่งการไปยังปืนและ เครื่องถือท้ายเรือ เรือซึ่งกาลังเดินหน้าด้วยความเร็ว ๑๔ นอต ต้องหมุนซ้ายเป็นวงกลมอยู่ถึง ๔ รอบ ซึ่งในขณะนี้เอง เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ระดมยิงเรือหลวงธนบุรีอย่างหนัก ปืนป้อมทั้งสองของเรือหลวงธนบุรี ต้องทาการยิงโดยอิสระ อาศัยศูนย์ข้างและศูนย์ระยะที่หอกลาง ปรากฎว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ถูกกระสุนปืนจากเรือหลวงธนบุรีเช่นกัน โดยมีแสงไฟจากเปลวระเบิดและควันเพลิงพุ่งขึ้นบริเวณตอนกลางลา จึงต้องล่าถอยออกมารวมกับหมู่เรือฝรั่งเศสอีก ๔ ลา ทางตะวันตกของเกาะเหลาในและแล่นออกไปในที่สุด เมื่อเรือรบของฝรั่งเศสได้ออกไปจากสนามรบทั้งหมดแล้ว ปรากฏว่าได้มีเครื่องบินลาหนึ่งบินมาทางหัวเรือและทิ้งระเบิดตกบนดาดฟ้าหลังห้องครัวทหาร เจาะทะลุดาดฟ้าเป็นรูโตประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ลงไประเบิด ในครัวทหาร ทาให้ทหารตายอีก ๓ นาย

เวลา ๐๘๓๐ เรือหลวงธนบุรีแล่นไปทางแหลมน้า ไฟลุกทั่วไปในช่องทางเดิน ต้นเรือ(นายทหารอาวุโสที่รองจากผู้บังคับการเรือ) พาเรือมาทางแหลมงอบ เรือเอียงทางกราบขวาและต่อมาก็หยุดแล่น เรือหลวงช้างได้เข้าช่วยดับไฟและจูงเรือธนบุรีไปจนถึงหน้าแหลมงอบ และต้นเรือได้สั่งสละเรือใหญ่ เมื่อเวลา ๑๑๐๐ ต่อมา ประมาณเวลา ๑๖๔๐ กราบเรือทางขวาก็เริ่มจมน้ามากขึ้นตามลาดับ เสาทั้งสอง เอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่พ้นน้า

การรบในครั้งนี้ ทางฝ่ายไทยเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น ๓๖ นาย เป็นนายทหาร ๒ นาย พันจ่า จ่า พลทหาร และพลเรือน ๓๔ นาย ซึ่งในจานวนนั้นเป็นทหารประจาเรือหลวงธนบุรี ๒๐ นาย เรือหลวงชลบุรี ๒ นาย และเรือหลวงสงขลา ๑๔ นาย ส่วนจานวนทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บของฝ่ายข้าศึกนั้นไม่ทราบจานวนแน่นอน หลังเกิดเหตุการณ์การรบที่เกาะช้างจนถึงวันลงนามในสัญญาสันติภาพ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ที่กรุงโตเกียวก็ไม่ปรากฎว่ามีเรือรบของข้าศึกเข้ามาในอ่าวไทย

การรบทางเรือที่เกาะช้างในครั้งนี้ แม้จะไม่จัดว่าเป็นการยุทธใหญ่ก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นการรบทางเรือตามแบบอย่างยุทธวิธีสมัยใหม่ กาลังทางเรือของไทยเข้าทาการสู้รบกับกาลังทางเรือของข้าศึก ซึ่งเป็นชาติมหาอานาจทางเรือ และมีจานวนเรือที่มากกว่า จนข้าศึกต้องล่าถอยไปไม่สามารถทาการระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทยได้สาเร็จ จึงนับเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ซึ่งจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทยและทหารสืบไป