การจัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์

Release Date : 18-12-2018 00:00:00

           

                                                           

  การจัดแสดงโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ

      พิพิธภัณฑ์ทหารเรือได้จัดแสดงวัตถุเป็น ๒ ประเภทคือ จัดแสดงกลางแจ้ง และ จัดแสดงในอาคาร

 การจัดแสดงกลางแจ้ง

จัดแสดง อาวุธยุทโธปกรณ์ ขนาดใหญ่ จัดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้งบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าของตัวอาคารและบริเวณโดยรอบ ดังต่อไปนี้

                                 ร.ล.มัจฉาณุ (ลำที่สอง)

         

ต่อที่อู่มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสัญญาเดียวกันกับเรือดำน้ำอีก ๓ ลำ ได้แก่ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล

  •  
  • วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ วางกระดูกงู
  • วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ลงน้ำ
  • วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง) และเรือดำน้ำอีก ๓ ลำ ออกจากน่านน้ำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมายังประเทศไทย โดยความสามารถของทหารเรือไทย
  • วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เดินทางมาถึงประเทศไทย                                                             
  •  
  •                                                                  เครื่องบิน HU-๑๖B
  •  
  •                   
  • สร้างโดยบริษัท GRUMMAN AIRCRAFT ENGINEERING CORPORATION USAประจำการในกองทัพเรือ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ใช้ในการลาดตระเวนตรวจการณ์ ค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล และลำเลียง

    - ปลดประจำการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓

    - มอบให้พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมื่อ ๓๑ต.ค.๒๕๒๙เพดานการบิน ๒๔,๐๐๐ ฟุต

    เจ้าหน้าที่ ๖ คน ผู้โดยสาร ๑๔ คน ดัดแปลงติดเปลพยาบาลได้ ๑๒ คน

 

  •                                          เรือ PBR(Patrol Boat River : PBR)
  •  
  •                
  •  
  • เรือตรวจการณ์ลำน้ำ สร้างด้วยไฟเบอร์กลาส เป็นเรือประเภทใช้งาน ลาดตระเวนคุ้มกันลำน้ำสนับสนุนยิงฝั่งกำลังพล นายทหาร ๑ นาย ประทวน ๔ นาย

 

  •                                                  รถสะเทินน้ำสะเทินบก (LVT MK IV)
  •         

  • -   จัดซื้อเมื่อปี ๒๔๙๐ สมัย พลเรือเอก หลวงสินธ์ กมลนาวิน ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ ซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์กองทัพเรือได้จัดซื้อรถ LVT MK IV เป็นจำนวน ๑๖ คัน ประจำการเบื้องต้นที่กองพาหนะ สถานีทหารเรือสัตหีบ

    -  วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๒พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ พร้อมด้วย เรือตรี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ฯ ประทับบนรถสะเทินน้ำสะเทินบก LVT MK IV หมายเลข ๑๐๑ เสด็จ ฯ นำทหารนาวิกโยธินขึ้นบกในการฝึก "ทักษิณ ๑๒" ณ หาดบ้านทอน จังหวัดนราธิวาส (ปัจจุบันคือ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์)

    วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑ กองทัพเรือได้อนุมัติปลดประจำการ จำนวน ๑๓ คัน ตามสำเนา กรมอู่ทหารเรือ รับที่ ๑๗๗๓๔/๑๖ เรื่อง รุจำหน่ายบัญชี LVT ของ นย.เหลือรถ LVT MK IV ประจำการทั้งสิ้นจำนวน ๙ คัน

  •  

  •                                                                 ปืนใหญ่โบราณ

              

  • ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เริ่มมีใช้ในกองทัพบกไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระราเมศวร (พ.ศ. ๑๙๓๑- พ.ศ. ๑๙๓๘)

    ปืนใหญ่ของกองทัพบกไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นปืนใหญ่วิถีกระสุนตรงคล้ายปืนใหญ่ทหารราบสมัยใหม่ ลักษณะปืนใหญ่อยุธยา ได้แก่

    -ปืนบะเหรียม หรือบะเรียม เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ท้ายปืนมีรูปมน ปากกระบอก เรียวและแคบ

    -ปืนจ่ารงค์ เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ใช้ลาก

    -ปืนมนทก เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ใช้ลาก

    -ปืนนกลับ เป็นปืนใหญ่ทหารราบ มีขาหยั่ง ๒ ขา คล้ายขานกกระยาง บางแห่งจึงเรียกว่า ปืนขานกกระยาง

  • -ปืนจินดา เป็นปืนทหารราบ ปัจจุบันนี้ใช้เป็นปืนยิงในพิธีตรุษ

  •  

  • การจัดแสดงในอาคาร

  • จัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันจัดดำเนินการเป็น ๒ ลักษณะ คือ การจัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์เป็นประจำ และ การจัดแสดงนิทรรศการเฉพาะเรื่องเป็นครั้งคราวแบ่งเป็น ๒ อาคาร ได้แก่

    อาคาร ๑ เป็นอาคารปูน ๒ ชั้น สร้างหลังแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตั้งอยู่ด้านหน้าต่อจากสนามหญ้า การจัดแบ่งออกตามประเภทของโบราณวัตถุและห้องจัดแสดง ดังนี้

  • ชั้น ๑ อาคาร ๑ จัดแสดง

  •  - ห้องพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

  •   - ห้องสรรพาวุธ

  • ชั้น ๒ อาคาร ๑ จัดแสดง

    - ห้องเทิดพระเกียรติ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์
    วรพินิต

  • - ห้องเครื่องลายคราม

  • - ห้องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

  • - ห้องเครื่องแบบ

    •                         
    • อาคาร ๒ มี ๓ ชั้นสร้างเพิ่มเติมปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เชื่อมต่อกับด้านหลังอาคาร ๑ เป็นอาคารจัดแสดงประวัติศาสตร์กองทัพเรือ นิทรรศการพิเศษและจำลองโบราณวัตถุไว้จำนวนมาก

      •  ชั้น ๑ อาคาร ๒ จัดแสดง สิ่งของ สรรพาวุธ ในอดีตที่น่าสนใจ ตัวอย่างโบราณวัตถุที่จัดแสดง เช่น
      •  
      •  
      •                                                        ประภาคาร(Regent Lighthouse)
      •                                 ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา/กระโจมไฟสันดอน
      •  
      •                              
      •  

-   เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เปิดใช้ได้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๑๗ ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา

-   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๔๑๗กล่าวว่าค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๒๒๕ชั่ง ๕ตำลึง ๕สลึง เท่ากับ ๑๘,๐๒๑.๒๕บาท ที่ ละติจูด ๑๓๐๒๙ / ๒๖ // เหนือ
ลองติจูด ๑๐๐๐๓๕ / ๒๐ / ตะวันออกเมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ยกให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงเรียกชื่อประภาคารแห่งนี้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น เลิกใช้วันที่ ๑ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก รวมเวลาที่ใช้อยู่ ๕๕ปี ๒๒วัน

 

                                                                    ปืนเที่ยง

                            

-   ใช้ในราชการกองทัพเรือสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยกองเรือกลชั้น ๔ ได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ยิงปืนเที่ยงที่สนามหญ้าท่าราชวรดิฐ

-   การยิงปืนเที่ยง คือ การยิงปืนให้เกิดเสียงดัง เพื่อบอกเวลาเที่ยงวันสำหรับคนไทยได้รู้เวลา และชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายจะได้ตั้งเวลาให้ตรงกัน เป็นการสะดวกในการติดต่อนัดหมาย เป็นผู้ทำหน้าที่ยิงปืนเที่ยงทุกวัน หากเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนนายเรือรับผิดชอบการยิง ป้อมวิชัยประสิทธิ์คือสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ใช้ยิงปืนนี้ จนกระทั่งมีไฟฟ้า และวิทยุใช้ จึงเลิกยิงปืนเที่ยง ตามประกาศกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

                                                                                             

                                                                       เรือสุวรรณเหรา

                             

 

ได้รับมอบจากกรมศิลปากรเพื่อดูแลและจัดแสดงให้ประชาชนได้ชม จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ลำเรือมีลวดลายสวยงาม พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้เสด็จลำลอง หรือใช้เป็นเรือพระประเทียบในกระบวนเรือพระราชพิธีสำหรับเจ้านายฝ่ายใน ฝีมือช่างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) การสร้างเรือพระประเทียบให้มีเก๋งปิดมิดชิด มีหน้าต่างบานเกร็ด ปิด – เปิด ก็เพื่อความสะดวกในการเสด็จประทับแรมยังพื้นที่ห่างไกล และป้องกันการมองจากภายนอก

 

                                                                   ตอร์ปิโด

                      

 

ตอร์ปิโดที่ใช้ในกองทัพเรือมีหลายแบบ  ในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือมีแบบดังต่อไปนี้

-ตอร์ปิโด แบบ ๔๕ ก นี้ เป็นแบบแรกที่สุดที่มีในราชนาวี ใช้กับเรือตอร์ปิโดที่ ๑, ๒ และ ๓ สร้างขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.๑๘๙๒ (จาก
หลักฐานที่อุปกรณ์) กองทัพเรือได้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑จำนวน ๑๘ ลูก ปัจจุบันได้ปลดระวางหมดแล้ว

-ตอร์ปิโด แบบ ๔๕ ข. และ ๔๕ ค.สั่งซื้อมาใช้ราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕และ ๒๔๕๖ จากประเทศญี่ปุ่น

-ตอร์ปิโด แบบ ๕๓ ก.สั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ซึ่งใช้เป็นตอร์ปิโดซึ่งประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันบริจาคเงินและร่วมกันถวาย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เพื่อทรงจัดซื้อมาประจำการกับ ร.ล.พระร่วง

-ตอร์ปิโด แบบ ๔๕ ง.สั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ซึ่งประจำการในเรือ ร.ย.ฝ. ลำที่ ๒(เรือยามฝั่ง) ปัจจุบันได้ปลดระวางไปแล้ว

-ตอร์ปิโด แบบ ๔๕ จ., จ. ดาว, จ. สองดาวสั่งซื้อมาจากประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐จำนวน ๓ รุ่นปัจจุบันนี้ได้ปลดระวางไปหมดแล้ว

-ตอร์ปิโด แบบ ๔๕ ฉ.กองทัพเรือได้สั่งซื้อมาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นตอร์ปิโดที่ผลิตโดยบริษัท มิตซูบิชิใช้ประจำการกับ ร.ล.ชุมพร ร.ล.สุราษฎร์ ร.ล.ชลบุรี และเรือตอร์ปิโดเล็กอีก ๔ ลำ

 

·       ชั้น ๒ อาคาร ๒ จัดแสดง

-   จัดแสดงเรือจำลองประเภทเรือพระราชพิธีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เรือพระราชพิธีมีหลายลำเป็นเรือสำหรับประกอบพระราชพิธีชลมารค

จัดแสดงเรือรบทางทะเลสมัยโบราณประเภทเรือใบและเรือกลไฟ เช่น เรื่อพระที่นั่งครุฑ สร้าง ในรัชกาลที่ ๑  เรือวิทยาคม สร้างในรัชกาล ที่ ๓
เรือยงยศอโยชฌิยา สร้างในรัชกาลที่ ๔ เรือพิทยัมรณยุทธ สร้างในรัชกาลที่ ๕
แสดงหัวเรือมกุฎราชกุมาร (ลำแรก) หัวเรือพาลีรั้งทวีป และหัวเรือ
สุครีพครองเมือง (เรือปืนในรัชกาลที่ ๕ ) ครุฑขนาดใหญ่ติดที่เสาหน้าของเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่ ๒ ครุฑติดที่หัว เรือหลวงรัตนโกสินทร์

  • - เครื่องแต่งกาย ตั้งแสดงเครื่องแต่งกายทหารประจำเรือพระราชพิธีและเครื่องแบบทหารเรือสมัยต่างๆตั้งแต่รัชกาล ที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน และเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษ

 

  • ชั้น ๓ อาคาร ๒ จัดแสดง
  • เป็นการจัดแสดงนิทรรศการเฉพาะเรื่องเป็นครั้งคราว เช่น
  • การรบระหว่างเรือรบฝรั่งเศสกับเรือรบไทย ณ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ แสดงเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖
  • การจับเรือเชลยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้นเมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ กองทัพเรือได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ยึดเรือสินค้าของเยอรมนีที่หลบหนีภัยสงครามมาจอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบางโคล่ บริเวณวัดพระยาไกร มีจำนวนเรือทั้งหมด ๒๕ ลำ
  • เรื่องยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด เกิดขึ้นเมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ เป็นการปะทะระหว่างกำลังทางเรือของฝ่ายไทยและกำลังทางเรือของฝรั่งเศสที่บริเวณเกาะช้าง ไทยสามารถสกัดกั้นกองเรือรบฝรั่งเศสมิให้เข้ามาทำการระดมยิงฝั่งได้เป็นผลสำเร็จแต่ไทยต้องเสียเรือหลวงธนบุรี เรือหลวงชลบุรีและเรือหลวงสงขลา รวม ๓ ลำ
  • เรื่องวีรกรรมที่ดอนน้อย หมู่บ้านท่ามะเฟือง ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายเกิดขึ้นเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เป็นการปะทะระหว่างเรือหลวง ๑๒๓ ซึ่งเป็นเรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขงกับกำลังทหารบกของฝ่ายประเทศลาวที่บริเวณดอนน้อย

พิพิธภัณฑ์ทหารเรือได้จัดทำภาพยนตร์เกี่ยวกับกิจการทหารเรือไว้ฉายให้ชม คือ เรื่องพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี เรื่องยุทธนาวีที่เกาะช้าง เรื่องขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรื่องวีรกรรมที่ดอนนุ้ย และการยิงจรวดเอกโซเซ่ต์ เป็นต้น